วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หารายได้เสริม 10,000 บาท เพื่อลดหนี้บัตรเครดิต

หารายได้เสริม 10,000 บาท เพื่อลดหนี้บัตรเครดิต เงินเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือน้อยมาก ทำให้บัตรเครดิตโตเร็วมาก เมื่อเงินเดือนไม่พอรายจ่าย ก็รูดบัตร สักระยะบัตรก็จะเต็มวงเงิน ต้องหาบัตรเครดิตใหม่ มาใช้งาน ส่วนหนี้เก่าก็จ่ายแค่ขั้นต่ำ ดอกเบี้ย 18% ทบไปทบมา คุณก็เริ่มขาดชำระ คุณจะเจอดังนี้ 1. โทรศัพท์ตามหนี้ ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน หรือบ้านญาติที่นามสกุลเดียวกัน 2 มีการเจรจากับบิดามารดาของลูกหนี้ เพื่อให้จ่ายแทน 3. ได้รับไปรษณีย์บัตร บอกว่า ขอให้ชำระหนี้ด่วน ภายใน 7 วัน ไปที่ทำงานหรือที่บ้าน 4 มีคนขับมอเตอร์ไซด์มาถามหาที่บ้าน ว่าคุณอยู่หรือไม่ มีหนี้ค้างชำระ ถามเพื่อนบ้านว่าคุณกลับบ้านกี่โมง 5 หากทะเลาะกัน ก็จะได้รับ FAX ตามหนี้ มาที่ทำงาน (FAX ทุกเบอร์ที่ office) และมีการโทรมาแจ้งหนี้กับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท โดยบอกว่าคุณมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะทำการยึดทรัพย์สิน ขายทอดตลาด (แต่ไม่ได้บอกว่าหนี้แค่ 50,000 บาท) ตั้งสติไว้ครับ หนี้ก่อนใหญ่สุด จะโดนฟ้องก่อน หนี้ก้อนเล็ก ต่ำกว่า 20000 บาทมักไม่ฟ้อง เพราะไม่คุ้มค่าทนาย ธนาคารต่างประเทศจะฟ้องเร็วกว่าธนาคารไทย จำไว้ คุยดีๆ รับปากว่าจะจ่ายให้เท่าที่มีไปก่อน อย่าหนี อย่าหลบ แก้ไขได้ เรียกว่า ซื้อเวลาไปก่อน หารายได้เสริมเข้ามาช่วย ขายของก็ต้องลงทุน ไม่มีเงิน ทำงานพิเศษก็ไม่พอหรอก แนะนำให้ไปสมัครเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตครับ บริษัทเช่น A..... ให้ค่า com สูงมาก ขายประกันชีวิต 1 ราย เบี้ยประกัน 20000 บาทต่อปี คุณได้ค่า com ปี แรก 10000 บาท ปีที่ 2 อีก 3000 บาท หากคุณมีญาติมาก เพื่อนเยอะ รับรอง หาลูกค้า 3 รายได้ไม่ยาก แต่อยากฝันนะครับว่าจะหาลูกค้าได้เกิน 20 คน เพราะค่าเฉลี่ยคือ 1 คน หาได้ 10 คน เท่านั้น สนใจไม่ต้องถามผมหรอก ลองถามเพื่อนๆ เดี๋ยวก็เจอ บอกเขาว่า อยากเป็นลูกทีม ความรู้ด้านประกันไม่จำเป็น บริษัทประกันชีวิต เขาสอนคุณเอง เสียแค่ค่าสมัครสอบเอาใบอนุญาตไม่กี่ร้อยเท่านั้น ที่สำคัญ หากคุณไม่มีใบอนุญาต ค่า com จะจ่ายให้คุณไม่ได้ ต้องอาศัย คนอื่นที่มีใบอนุญาต และคุณจะเสียเปรียบ อาจถูกโกง หรือขอส่วนแบ่ง คนทำงานส่วนมากต้องการความมั่นคงให้กับครอบครัว การขายประกันง่ายกว่าสมัยก่อนมาก กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้หญิงมีลูกเล็ก คนรักครอบครัว คนป่วย เพิ่งออกจากโรงพยาบาล ขอบคุณที่มา http://www.oknation.net ใครทำสำเร็จรายงานผลให้ทราบด่วนครับเพื่อเครือข่ายพวกเราชาวโลกที่น่ารัก

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและสมองเสื่อมโดย อสม. และบุคลการทางการแพทย์

วิธีการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและสมองเสื่อมโดย อสม. และบุคลการทางการแพทย์ ปัญหาสุขภาพจิตที่พบในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมักพบปัญหา เครียดเนื่องจากโรคทางกายแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง การสูญเสียอาชีพการงาน มีเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก ความเหงาโดดเดี่ยวเนื่องจากการขาดคนดูแล และไม่มีศักดิ์ศรีเนื่องจากต้องเป็นภาระของลูกหลาน ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้เกิดการแยกตัว เบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่มีความสุข ซึมเศร้า ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง จะมีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกาย ความรู้สึกเป็นภาระ ไม่มีคุณค่าในตัวเอง สูญเสียอัตมโนทัศน์ที่ดีต่อตนเอง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า และนำสู่การฆ่าตัวตาย ระบบการดูแลผู้สูงอายุทางสุขภาพจิตจะจำแนกตามศักยภาพของผู้สูงอายุ - กลุ่มติดสังคม เน้นการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ด้วยการฝึก neurobic exercise การฝึกควบคุมอารมณ์ ฝึกการผ่อนคลาย (กรมสุขภาพจิต) การดูแลสุขภาพร่างกาย เน้นการออกกำลังกาย และอาหาร (โดยกรมอนามัย) - กลุ่มติดบ้าน/ติดเตียง เน้นการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้า / ฆ่าตัวตาย ส่วนการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ (โดยกรมการแพทย์และกรมอนามัย) การขับเคลื่อนชุมชน และเน้นกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ดึง helper ในชุมชนเข้ามาช่วยในการเฝ้าระวังและช่วยเหลือฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุ จะผ่านบทบาทความเข้มแข็งของ อสม และกรมสุขภาพจิตมีชุดเครื่องมือเพื่อประเมิน/คัดกรองภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุ โดย อสม. สามารถใช้แบบคัดกรองง่ายๆดังนี้ - แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2Q - แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม เมื่อสงสัยหรือพบความผิดปกติก็จะส่งต่อ เพื่อเข้าสู่ระบบการประเมินและรักษา - แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 9 Q สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เนื้อหาองค์ความรู้เรื่องการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในชุมชนโดย อสม. /บุคลากรทางการแพทย์ การค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การคัดกรองโรคซึมเศร้า ขั้นตอนที่ 2 การประเมินโรคซึมเศร้า ขึ้นตอนที่ 1 การคัดกรองโรคซึมเศร้า การคัดกรองหาผู้ที่มีแนวโน้มที่จะป่วยโรคซึมเศร้ามี 2 ระดับได้แก่ 1. การคัดกรองในผู้สูงอายุทั่วไป 2. การคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง มีอาการซึมเศร้าชัดเจน ผ่านการสูญเสียที่รุนแรงมาไม่นาน หรือมีปัญหาสุรายาเสพติด 1. แนวทางการคัดกรองโรคซึมเศร้า เครื่องมือ แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม (2Q) วัตถุประสงค์ ใช้ค้นหาผู้ที่มีแนวโน้มหรือเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุในชุมชนหรือกลุ่มเสี่ยง ผู้ใช้ อสม. หรือบุคลากรใน รพ.สต./ รพ. ขั้นตอนการใช้ 1. ชี้แจงการคัดกรองโรคซึมเศร้าให้กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อขอความร่วมมือและสร้างความเข้าใจความสำคัญของการคัดกรอง 2. กรณีที่ผู้สูงอายุอนุญาต ให้ใช้แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 Q เน้นการถามถึงอาการที่เกิดขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันที่สอบถาม 3. ในขณะที่ถามหากผู้ถามไม่เข้าใจ ให้ถามซ้ำ ไม่ควรอธิบายหรือขยายความเพิ่ม ควรถามซ้ำจนกว่าผู้ถูกถามได้ตอบตามความเข้าใจของเขาเอง 4. เมื่อได้คำตอบให้แปรผลดังนี้ - ถ้าคำตอบ “ไม่มี” ทั้ง 2 คำถาม ถือว่า ปกติ ไม่เป็นโรคซึมเศร้า - ถ้าคำตอบ “มี” ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้อคำถาม หมายถึง ผลการคัดกรองเป็นบวก คือเป็นผู้มีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ให้แจ้งผลอย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เช่น “ผลการคัดกรองพบว่า คุณมีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคซึมเศร้า แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ และอาการซึมเศร้ามีความรุนแรงระดับใด ต้องประเมินด้วย 9Q จึงจะรู้ชัดเจน” และแนะนำความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า แล้วแนะนำให้รับประเมินด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9Q ซึ่งต้องคัดกรองโดยบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือต่อไป ทั้งนี้ให้ อสม. บันทึกและส่งรายชื่อ ผู้ที่ได้รับผลการคัดกรองนั้นไปยังบุคลากรสาธารณสุข ใกล้บ้านเพื่อประเมินซ้ำอีกครั้งหนึ่ง กรณีที่ผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะไม่ไปรับการประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q ตามที่แนะนำ ให้แจ้งกับบุคลากรสาธารณสุขโดยตรงเพื่อติดตามให้ได้รับการประเมินต่อไป และผู้สูงอายุควรได้รับการประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q ภายใน 2 สัปดาห์ ไม่เกิน 3 เดือน” แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2Q คำถาม ข้อคำถาม มี ไม่มี 1 ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้ท่านรู้สึก - หดหู่ เศร้า หรือท้อแท้สิ้นหวังหรือไม่ 2 ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้ท่านรู้สึก - เบื่อ ทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลินหรือไม่ ผู้ที่ได้ผลเป็นบวกจากการคัดกรองคือผู้ที่มีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของอาการซึมเศร้าเพื่อให้การดูแลช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งการประเมินแนวโน้มการฆ่าตัวตายด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีโรคซึมเศร้าจะมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง ในการประเมินความรุนแรงของอาการซึมเศร้าในระบบดูแลเฝ้าระวังนั้น จะอาศัยเครื่องมือการประเมินลำดับถัดไปคือ การประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q และแบบประเมินการฆ่าตัวตายด้วย 8Q เพื่อให้มีความถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพในการใช้เครื่องมือควรจะดำเนินการประเมินไปพร้อมๆกับการให้สุขภาพจิตศึกษาที่ถูกต้อง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินโรคซึมเศร้า แนวทางการประเมินโรคซึมเศร้า เครื่องมือ แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9Q) วัตถุประสงค์ ช่วยการวินิจฉัยและใช้ประเมินจำแนกความรุนแรง กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุในชุมชนและกลุ่มเสียงที่มีผลบวกจากการคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 Q ผู้ใช้ พยาบาล / แพทย์ ขั้นตอนการใช้ 1. ชี้แจงที่มาและความสำคัญในการค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อขอความร่วมมือ ดังตัวอย่างการชี้แจง “สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด...ร่วมกับโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ได้เห็นความสำคัญของการเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และรักษาหายได้ ถ้าหากมีการป้องกัน และดูแลรักษาอย่างถูกต้อง และในการคัดกรองโรคซึมเศร้าที่ผ่านมา ท่านเป็นผู้ที่มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จึงขออนุญาตทำการประเมินโรคซึมเศร้าอีกครั้งเพื่อเป็นการบ่งชี้ที่ชัดเจนขึ้นว่าท่านป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่และอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใดด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ถ้าหากไม่อนุญาตก็จะไม่มีผลใดต่อการดูแลรักษาสุขภาพของท่าน ถ้าหากอนุญาตเราจะทำการสัมภาษณ์ ต่อไป” 2. กรณีที่ได้รับการอนุญาตให้ประเมิน ควรแจ้งผลการคัดกรองโรคซึมเศร้าให้ทราบก่อน และใช้ทักษะการให้ข้อมูล โดยทวนสอบความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้าและเมื่อพบว่า มีส่วนที่ผู้ป่วยไม่รู้หรือเข้าใจไม่ถูกต้องจึงให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพิ่มเติม 3. อธิบายให้ทราบถึงการประเมินด้วย 9Q เช่น แนวคำถาม การตอบเน้นให้ตอบตามความเป็นจริง แนวทางการแปรผลและประโยชน์ที่จะได้รับจากการประเมิน 4. เมื่อเกิดความเข้าใจตรงกันและเห็นประโยชน์แล้ว ให้ถามด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q “9Q เน้นการถามเพื่อค้นหาอาการที่มีในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ที่สอบถาม” 5. ให้ถามด้วยภาษาอีสานและใช้สำเนียงอีสานในเบื้องต้น หากไม่เข้าใจภาษาอีสานจึงเปลี่ยนเป็นการถามด้วยภาษากลาง ตามด้วยอย่างพยายามให้ได้คำตอบทุกข้อ ในขณะที่ถาม/ประเมิน ถ้าผู้ถูกถามไม่เข้าใจให้ถามซ้ำ ไม่ควรอธิบายหรือขยายตามเพิ่ม ให้ถามซ้ำจนกว่าผู้ถูกถามจะตอบตามความเข้าใจของเขาเอง 6. รวบคะแนน แล้วแปรผลตามตารางแปรผล 7. แจ้งผลการประเมินโรคซึมเศร้าตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 7.1 ประเมินความคาดหวังของผู้รับบริการต่อผลการตรวจประเมินด้วย 9Q และความเข้าใจผลการประเมิน ตัวอย่าง เช่น “จากที่เราคุยกัน คุณคิดว่า คุณมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามั๊ย” “คุณคิดว่า ผลการประเมินจะเป็นอย่างไร” “ถ้าผลเป็นบวกหมายถึงอะไร” และ “คุณคิดว่าจะทำอย่างไรถ้าผลเป็นบวก” 7.2 แจ้งผลการประเมินอย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ยึดหลักการสื่อสารทางบวกเพื่อแจ้งข่าวร้าย เช่น “จากการคัดกรองด้วย 2Qพบว่า คุณมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเราได้พูดกัน ในเบื้องต้น ซึ่งคุณก็เข้าใจแล้วว่าโรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไรและเมื่อมีอาการก็ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันการป่วยเรื้อรัง เราจึงมีการประเมินต่อด้วย 9Q และผลการประเมินพบว่า คุณมีอาการของโรคซึมเศร้าอยู่ในระดับ... ซึ่งโรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้” 7.3 แสดงความใส่ใจในความรู้สึกของผู้รับบริการ และตรวจสอบความเข้าใจพร้อมทั้งให้ข้อมูลที่ถูกต้อง 7.4 กรณีทีมีผลเป็นลบหรือคะแนนรวม <7 ให้สุขภาพจิตศึกษาโดยการทวนสอบความถูกต้องและพอเพียงในความรู้ เรื่องโรคซึมเศร้าแล้วเพิ่มเติมในส่วนขาดหรือไม่ถูกต้องอาจมอบเอกสารหรือแนะนำเทคโนโลยีสำหรับส่งเสริมสุขภาพจิตและควรประเมินด้วยว่ามีปัญหาด้านสังคมจิตใจหรือไม่ ถ้ามีควรได้รับการให้การปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว 7.5 ในรายที่ได้ผลบวก หรือมีคะแนนตั้งแต่ ≥ 7 ขึ้นไป ควรประเมินการฆ่าตัวตายด้วยแบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8Q ทุกราย แล้วจึงส่งพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัย จากนั้นให้การดูแลรักษาตามแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตามความรุนแรงของอาการ อาจมอบหนังสือที่มีความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าและการปฏิบัติตัว หรือแนะนำเทคโนโลยีสำหรับลดอาการซึมเศร้าด้วยตัวเอง 8. ในรายที่มีผลบวกและได้รับการประเมินที่สถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพชุมชนที่ไม่มีแพทย์ประจำต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรับการตรวจประเมินเพิ่มเติมและวินิจฉัยจากแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไป และให้สอบถามวันเวลาที่สะดวกไปรับการรักษาต่อ รพช. หรือ รพท. ใกล้บ้าน ซึ่งไม่ควรเนิ่นนานหากผู้ป่วยไม่ยอมไปรับการรักษาควรติดตามประเมินของอาการด้วยแบบประเมิน 9Q เป็นระยะ พร้อมทั้งหาทางให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q ภาษากลาง ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งวันนี้ ท่านมีอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน ภาษาอีสาน ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมเมื่อนี้ เจ้ามีอาการมูนี่ดู๋ชำได๋ ไม่มีเลย (บ่เคยมี บ่เคยเป็น) เป็นบางวัน (เป็นลางเทือ) 1-7 วัน เป็นบ่อย (เป็นดู๋) > 7 วัน เป็นทุกวัน (เป็นชุมื่อ) 1. เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไร บ่อยากเฮ็ดหยัง บ่สนใจเฮ็ดหยัง 0 1 2 3 2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้ บ่ม่วนบ่ชื่น เซ็ง หงอย 0 1 2 3 3. หลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากไป นอนบ่หลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ หรือนอนบ่อยากลุก 0 1 2 3 4. เหนื่อยง่าย หรือ ไม่ค่อยมีแรง เมื่อย บ่มีแฮง 0 1 2 3 5. เบื่ออาหาร หรือ กินมากเกินไป บ่อยากเข่า บ่อยากน่าม หรือกินหลายโพด 0 1 2 3 6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่า ตัวเองล้มเหลวหรือทำให้ตนเองหรือครอบครัวผิดหวัง คึดว่าเจ้าของบ่ดี 0 1 2 3 7. สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ คึดหยังกะบ่ออก เฮ็ดหยังกะลืม 0 1 2 3 8. พูดช้า ทำอะไรช้าลงจนคนอื่นสังเกตเห็นได้ หรือกระสับกระส่าย ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ เหมือนที่เคยเป็น เว่ากะซ่า เฮ็ดหยังกะซ่า หรือ หนหวย บ่เป็นตาอยู่ 0 1 2 3 9. คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่า ถ้าตายไปคงจะดี คึดอยากตาย บ่อยากอยู่ 0 1 2 3 คะแนนรวม ตารางการแปรผลการประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q คะแนนรวม การแปรผล 7 – 12 คะแนน เป็นโรคซึมเศร้า ระดับน้อย (Major Depression, Mild) 13 – 18 คะแนน เป็นโรคซึมเศร้า ระดับปานกลาง (Major Depression, Moderate) > 19 คะแนน เป็นโรคซึมเศร้า ระดับรุนแรง (Major Depression, Severe) ข้อจำกัดในการใช้ ใช้ประเมินอาการซึมเศร้าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเท่านั้นและไม่ใช่ประเมินกับผู้ป่วยโรคจิตเวชอื่น ๆ การคัดกรองภาวะสมองเสื่อม - แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม Mini Cog - แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม IQ Code - แบบประเมินสมรรถภาพสมอง (MMSE) 1. แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม Mini Cog จุดประสงค์ : เพื่อประเมินสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุทั่วไปที่ไม่มีปัญหาด้านการสื่อสาร กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยง /ผู้สูงอายุ ทั่วไปที่ไม่มีปัญหาด้านการสื่อสาร ผู้ใช้ ประชาชนประเมินตนเอง / อาสาสมัครสาธารณสุขประเมินผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารได้ แบบประเมินสมรรถภาพสมอง Mini Cog แบบประเมินสมรรถภาพสมอง Mini Cog มีจุดประสงค์เพื่อคัดกรองภาวะสมองเสื่อม สำหรับผู้สูงอายุไทย ซึ่งต้องทำการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารได้ ทั้งนี้ผู้สัมภาษณ์คืออาสาสมัครสาธารณสุข / บุคคลทั่วไป โดยให้ทำเครื่องหมาย √ ในช่องที่ตอบถูกเท่านั้น ผู้ประเมิน (อสม.) ให้ผู้สูงอายุดูภาพ รถยนต์ เสือ เก้าอี้ แล้วพูดทวนชื่อสิ่งของทั้งสามคือ รถยนต์ เสือ เก้าอี้ เพียง 1 ครั้ง และให้ผู้สูงอายุจำของ 3 สิ่งไว้ เพราะสักครู่ผู้ประเมินจะกลับมาถามใหม่ ข้อคำถาม คำตอบ ถูก ผิด 1. ให้ผู้สูงอายุคำนวณ 20 – 3 ไปเรื่อยๆ 3 ครั้ง (ในแต่ละครั้งที่ตอบถูกใช้เวลาคิดในแต่ละช่วงคำตอบไม่เกิน 1 นาที หลังจบคำถาม) ถ้าผู้สูงอายุตอบคำถามที่ 1 ไม่ได้ ให้ตั้งเลข ต่อไปคือ 17 – 3 จากนั้นให้คำนวณในครั้งต่อไป ตามลำดับ ให้ลบเลขไปเรื่อยๆ จนครบ 1 นาที 2. ให้กลับมาถามถึงสิ่งของ 3 อย่างที่ฝากให้จำในครั้งแรก (ต้องไม่ให้เห็นภาพ เพราะต้องการทดสอบเรื่องความจำของผู้สูงอายุ และต้องพูดถูกทั้ง 3 ภาพ ห้ามขาดภาพใดภาพหนึ่ง โดยอาจไม่เรียงลำดับของภาพก็ได้ จึงจะถือว่าผู้สูงอายุตอบได้ถูกต้อง) การแปลผล 1. กรณีที่ตอบถูกหมด ปกติ 2. กรณีที่ผิด 1 – 2 ข้อ อาจมีปัญหาเรื่องความจำให้ส่งต่อ รพ.สต. เพื่อประเมินด้วย MMSE ต่อไป 2. แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม IQ Code จุดประสงค์ : เพื่อประเมินสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร ผู้ใช้ อาสาสมัครสาธารณสุข / บุคลกรทางการแพทย์ วิธีใช้ อาสาสมัครสาธารณสุขซักถามผู้ดูแล/ญาติ ของผู้สูงอายุ/ญาติ เมื่อพบความผิดปกติให้ส่งต่อ รพ.สต. และให้ รพ.สต. ซักถามผู้ดูแล/ญาติ ซ้ำอีกครั้ง ถ้าพบว่าผิดปกติจริง ให้บุคลากรของ รพ.สต. ประเมินสมรรถภาพสมองด้วย MMSE- Thai 2002 ต่อไป แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม IQ Code ขอความกรุณาให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเปรียบเทียบความจำ สติปัญญาและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันในแต่ละสถานการณ์ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมากับปัจจุบันของผู้สูงอายุที่ท่านดูแล และใส่ตัวเลขคะแนน ลงในช่องที่แสดงถึงระดับการเปลี่ยนแปลงว่าดีขึ้นมาก ดีขึ้นเล็กน้อย เท่าเดิม แย่ลงเล็กน้อย หรือแย่ลงมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเมื่อ 10 ปีก่อนผู้สูงอายุมักจำชื่อคนอื่นไม่ค่อยได้ และปัจจุบันยังคงจำไม่ค่อยได้เหมือนเดิมนั้น ให้ถือว่า “ไม่เปลี่ยนแปลง” อาการของผู้สูงอายุที่ท่านดูแล... การเปลี่ยนแปลงระหว่าง 10 ปีที่แล้วกับปัจจุบัน ดีขึ้นมาก 1 คะแนน ดีขึ้นเล็กน้อย 2 คะแนน ไม่เปลี่ยน แปลง 3 คะแนน แย่ลงเล็กน้อย 4 คะแนน แย่ลงมาก 5 คะแนน 1. ความจำในรายละเอียดของคนในครอบครัว 2. จำได้ว่าตอนนี้พักอาศัยอยู่ที่ไหน 3. ทราบเหตุการณ์ที่สำคัญในอดีต 4. ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน 5. สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั่วๆ ไป 6. สามารถที่จะเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับให้เหตุผลในสิ่งนั้นได้ 7. สามารถเดินทางไป-กลับสถานที่คุ้นเคยได้โดยลำพัง 8. สามารถทำงานที่เคยทำ วิธีคำนวณ ให้นำคะแนนในแต่ละข้อ นำมารวมกันตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 8 แล้วนำคะแนนทั้งหมด ÷ ด้วย 8 การแปลผล (จาก Anthony F. Jorm, 2004) คะแนน อยู่ระหว่าง 3.31 – 3.38 คือ ไม่เปลี่ยนแปลง (cut of point) คะแนนมากกว่า 3.38 – 4.0 คือ มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงเล็กน้อย ซึ่งควรเฝ้าระวัง คะแนนมากกว่า 4.0 – 5.0 คือ มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงมาก ต้องส่งคัดกรองต่อ 3. แบบประเมินสมรรถภาพสมอง (MMSE-Thai 2002) จุดประสงค์ : เพื่อประเมินสมรรถภาพสมอง กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยง /ผู้สูงอายุ ผู้ใช้ บุคลากรสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมวิธีการใช้แบบประเมินสมรรถภาพสมองแล้ว/ นักจิตวิทยาคลินิก/ นักจิตวิทยา (กรุณาหารายละเอียดในคู่มือแนวทางการจัดตั้งและดำเนินการคลินิกผู้สูงอายุ สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 1 โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรกฎาคม 2548)

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Make money on twitter RevTwt

แนะนำคลื่นลูกใหม่ ...โลกสวยด้วยมือเรา...ลงทะเบียนก่อนนะจ๊ะ..

แนะนำคลื่นลูกใหม่ ...โลกสวยด้วยมือเรา...ลงทะเบียนก่อนนะจ๊ะ... http://adf.ly/Q5ySY

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Adf.ly คือ เว็บที่เปลี่ยนลิ้งค์ต่างๆให้กลายเป็นลิ้งค์ของเว็บ Adf.ly

Adf.ly คือ เว็บที่เปลี่ยนลิ้งค์ต่างๆให้กลายเป็นลิ้งค์ของเว็บ Adf.ly ซึ่งเมื่อมีการคลิ๊กลิ้งค์ที่ทำการเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้วแล้วนั้น คุณก็จะได้ค่าตอบแทนจาก Adf.ly เช่น ลองคลิกดูครับ ลองคลิกดูครับ

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

โรคเรื้อน (Leprosy )

โรคเรื้อนเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังของผิวหนังและเส้นประสาทส่วนปลายสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium leprae เชื้อโรคเรื้อนทำลายเส้นประสาทส่วนปลายทำาให้เกิดความพิการของมือ เท้า และใบหน้าห า ก ไ ม่รีบ รัก ษ า ตั้ง แ ต่ร ะ ย ะ แ ร ก เ ริ่ม อ า จ ทำาใ ห้เ กิดความพิการถาวร นำามาซึ่งปัญหาทางจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โรคเรื้อนเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจึงสามารถฆ่าM.leprae ได้ง่ายด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ปัญหาผู้ป่วยได้รับความรังเกียจเดียดฉันท์จากสังคมเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่สมัย โบราณ และแก้ไขได้ยาก ประวัติศาสตร์ของโรคเรื้อน โรคเรื้อนเป็นโรคเก่าแก่ หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่มีบันทึกเกี่ยวกับโรคเรื้อนเป็นคัมภีร์ในประเทศอินเดียสมัยศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล เชื่อว่าโรคเรื้อนมีกำาเนิดในเอเชียกลางหรือแอฟริกาตะวันออก หลังจากนั้นโรคมีการระบาดไปยังยุโรปพร้อมกับการถอยทัพกลับของกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งมาซีโดเนียเมื่อ 326 ปีก่อน ค.ศ.ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 Aretaeus แพทย์ชาวกรีกได้เขียนบรรยายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับโรคเรื้อน แสดงว่าในสมัยนั้นโรคเรื้อนได้มีการระบาดแล้วในยุโรป โรคเรื้อนมีการระบาดอย่างหนักในยุโรประหว่างยุคกลาง (ค.ศ.1000 - 1500)หลังจากนั้นได้ระบาดไปยังทวีปอเมริกาและแอฟริกา เพราะการย้ายถิ่นฐานไปยังโลกใหม่และการค้าทาส สมมติฐานนี้ยืนยันได้ด้วยการวิจัย comparative genomics และsingle nucleotide polymorphisms (SNPs)(1) ค.ศ.1873 Hansen ค้นพบ M.leprae และได้เสนอว่าแบคทีเรียนี้น่าจะเป็นสาเหตุของโรคเรื้อน สถานการณ์โรคเรื้อน โรคเรื้อนเคยระบาดแพร่หลายในทวีปยุโรปและเอเชีย ปัจจุบันยังมีโรคเรื้อนชุกชุมในประเทศที่มีเศรษฐกิจไม่ดีในเขตร้อน ในช่วง ค.ศ. 1990 องค์การอนามัยโลกได้ออกโครงการรณรงค์กำาจัดโรคเรื้อน “Elimination of leprosy as a public health problem by the year 2000” วัตถุประสงค์เพื่อ ลดอัตราชุกของผู้ป่วยโรคเรื้อน (prevalence rate) ทั่วโลกให้ต่ำากว่า 1 คนต่อประชากร 1 หมื่นคน ซึ่งหมายความว่าโรคเรื้อนจะไม่เป็น ปัญหาทางสาธารณสุขต่อไป กลยุทธ์ในการดำาเนินโครงการ คือ เร่งค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และให้การรักษาด้วยยาสูตร ผสม (multidrug therapy) เพื่อขจัดแหล่งรังโรค และ ลดการระบาดของโรคเรื้อน ยาสูตรผสม ( MDT) ได้รับการ พัฒนาเนื่องจากปัญหาเชื้อดื้อยา dapsone และ rifampin จากการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าการรักษาโรคเรื้อนด้วย MDT มีประสิทธิภาพดีในการกำาจัดและป้องกันเชื้อดื้อยา พ.ศ. 2528 องค์การอนามัยโลกคาดว่ามีจำานวน ผู้ป่วยโรคเรื้อนทั่วโลก 12 ล้านคน คิดเป็นอัตราชุก 12 คน ต่อประชากร 1 หมื่นคน นับตั้งแต่เริ่มใช้ MDT เมื่อ พ.ศ. 2528 ทำาให้จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเรื้อนได้รับ การรักษาหายแล้วมากกว่า 15 ล้านคน อัตราความชุก ผู้ป่วยทั่วโลกลดลงมากกว่า 90% องค์การอนามัยโลก ประสบความสำาเร็จควบคุมโรคเรื้อนไม่ให้เป็นปัญหาทาง สาธารณสุขเมื่อ พ.ศ. 2548 ใน พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยกำาลัง รักษาทั่วโลก 211,903 คน 45% ของผู้ป่วยอยู่ในอินเดีย 20% อยู่ในบราซิล ในปีเดียวกันมีผู้ป่วยใหม่ได้รับ การวินิจฉัย 244,796 คน จำานวนประเทศที่มีโรคเรื้อนชุกชุม เป็นปัญหาทางสาธารณสุข (อัตราชุกของผู้ป่วยมากกว่า 1 คน ต่อประชากร 1 หมื่นคน) ลดลงจาก 122 ประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2528 เหลือ 2 ประเทศ คือ บราซิลและติมอร์ตะวันออก เมื่อ พ.ศ. 2553(3) สรุปสถานการณ์โรคเรื้อนทั่วโลก คือ จำานวนผู้ป่วยลดลงมาก กิจกรรมรณรงค์กำาจัดโรคเรื้อน ควรมีอย่างยั่งยืน เพื่อจะทำาให้จำานวนผู้ป่วยลดลงอย่าง ต่อเนื่อง ได้แก่ การผสานกิจกรรมการค้นหาและดูแลผู้ป่วย โรคเรื้อนเข้าไปในระบบบริการสาธารณสุขทั่วไป การพัฒนา สมรรถนะของบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อน การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้และความ ตระหนักเกี่ยวกับโรคเรื้อน เพื่อจะได้มารับการตรวจรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก รวมทั้งการพัฒนาและรับรองคุณภาพการ ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อน สถานการณ์ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2498 คาดว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อนทั่วประเทศประมาณ 1 แสนคน นับตั้งแต่ มีการใช้ MDT ในประเทศไทย จำานวนผู้ป่วยลดลงอย่าง รวดเร็ว ประเทศไทยสามารถควบคุมโรคเรื้อนไม่ให้เป็น ปัญหาทางสาธารณสุขตามนิยามขององค์การอนามัยโลก เมื่อ พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษา ทั่วประเทศ 671 คน คิดเป็นอัตราความชุก 0.11 คน ต่อ ประชากรหมื่นคน มีผู้ป่วยใหม่ถูกค้นพบ 358 คน(4) จนถึง ปัจจุบันมีผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้วในประเทศไทยประมาณ 1.7 แสนคน

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานโฆษณาออนไลน์ ทดลองทำดูนะครับ ได้ผลยังไงบอกกันด้วยครับ

คุณสามารถส่งลิงค์ในช่องข้างล่างนี้ ให้เพื่อนๆ, คนที่คุณรู้จัก ร่วมกิจกรรมกับ วิดีโอบล๊อค คุณก็จะได้รับค่าตอบแทน 300.00 บาท เหมือนคุณร่วมกิจกรรมเอง http://www.thaiadpoint.com/r.php?o_id=508&u_id=290867

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทิป เพิ่มความเร็ว windows xp ตอน 2

ทิป เพิ่มความเร็ว windows xp ตอน 2 9.1 เทคนิคเพิ่มความเร็วให้ IE - คลิก Start>Run พิมพ์ regedit คลิก O.K. - เข้าไปที่ HKEY_CURRENT_MACHINE\Software\Microsoft\Windows\Current Version\Internet Settings - ให้คลิกทางขวาแล้วเพิ่ม DWORD value ตั้งชื่อว่า DnsCacheTimeout ให้ดับเบิลคลิกแล้วเลือก Decimal - แล้วพิมพ์ที่ Value Data เป็น 3600 เพื่อให้ DNS Cache รีเซตหลัง 1 ชั่วโมง รับรองว่า IE ของคูรจะเร็วขึ้นมานิดหน่อย 10. เพิ่มความเร็ว ในการเปิด ไฟล์ จาก My Computer หรือ Explorer อาการนี้มักเกิดจากความสามารถของ windows ที่เรียกว่า NetCrawling โดยตัว NetCrawling จะค้นหาโพลเ[คำไม่พึงประสงค์]ร์และเครื่องพิมพ์ในระบบเครือข่ายให้เราโดยอัตโนมัติ แต่มันก็เหมือนดาบสองคม เพราะจะทำให้เครื่องช้า หากต้องการยกเลิกการใช้งาน NetCrawling สามารถทำได้ดังนี้ - คลิกปุ่ม Start > Run เพื่อเปิดหน้าต่าง Run พิมพ์คำว่า regedit แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อเปิดโปรแกรม regedit - เข้าไปที่ HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\Current Version\Explorer\Advanced - ดับเบิลคลิกทางขวามือที่ NoNetCrawling ใส่ค่า 1 ลงใน Valuedata เพื่อยกเลิกการใช้งาน NetCrawling แล้วคลิกปุ่ม OK - บู๊ตเครื่องใหม่ก็จะยกเลิกการใช้งาน NetCrawling ได้แล้วครับ 11.เร่งความเร็วในการล็อกออฟ ปิดและเปิดเครื่องใหม่ *****วิธีนี้ไม่ควรทำหากมีการแก้ไขข้อมูลในเครื่องประจำวัน แต่ถ้าไม่มีการแก้ไขก้อสามารถใช้ได้ตามปกติ***** - คลิกปุ่ม Start > Run เพื่อเปิดหน้าต่าง Run พิมพ์คำว่า regedit แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อเปิดโปรแกรม regedit - เข้าไปที่ HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\Current Version\policies\Explorer - คลิกขวาที่ Explorer เลือก New > DWORD Value ตั้งชื่อว่า NoSaveSettings - แก้ไขค่า Value Data เป็น 0 เพื่อไม่ให้ windows บันทึกค่า เมื่อปิด windows - คลิกปุ่ม OK จากนั้น restart เครื่องเป็นอันเสร็จ 12.เร่งความเร็วในการใช้เมนู MenuShowDelay ความหมายของค่าใน รีจิสทิส MenuShowDelay สามารถรับค่าได้ตั้งแต่ 0-4000 โดยมีหน่วยความเร็วเป็น Milisecond หากเราใส่ค่ายิ่งน้อยก็ยิ่งทำให้เมนูนั้นเปิดได้เร็วมากขึ้น - คลิกปุ่ม Start > Run เพื่อเปิดหน้าต่าง Run พิมพ์คำว่า regedit แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อเปิดโปรแกรม regedit - เข้าไปที่ HKEY_CURRENT_USER\Control panel\Desktop ดับเบิลคลิกทางขวามือที่ MenuShowDelay - กำหนดความเร็วในการเรียกใช้งานเมนูเป็น 50 แล้วคลิกปุ่ม OK - จากนั้นให้บู๊ตเครื่องใหม่ก็สามารถเร่งความเร็วให้กับเมนูได้แล้ว 13.วิธีทำให้เครื่องคอมเร็วขึ้น โดยการปิด effect - คลิดขวาที่ My Compter แล้วไปที่ Properties แล้วไปที่แท็บ Advanced แล้วคลิกปุ่ม Setting ที่ Performance - แล้วเอาเครื่องหมายถูกออกให้หมดยกเว้น 3 อันล่าง วิธีนี้สำหรับ Win XP (Pro) ใช้ได้ผลแน่ๆ 14.วิธีทำให้ปิด WinXP ได้เร็วขึ้น 4เท่า - คลิก Start>Run พิมพ์ regedit คลิก O.K. - แล้วไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control จะได้หน้าต่างทางขวามือ คลิกขวาที่ WaitToKillServiceTimeout - เลือก Modify ที่หน้าต่าง Edit String เปลี่ยนจาก 20000 เป็น 5000 - 10000 ซึ่งจะไม่มีปัญหา คลิก O.K. 15.เพิ่มความเร็วในการล๊อกอินและบู๊ตเครื่อง เพื่อให้ windows ล็อกออนเข้าระบบโดยไม่ต้องรอ Policy นั้นดาวน์โหลดเสร็จก่อนทำได้ดังนี้ - คลิก Start>Run พิมพ์ regedit คลิก O.K. - เข้าไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\policies\system - คลิกขวาที่ system แล้วเลือกคำสั่ง New>DWORD Vale พิมพ์คำว่า SynchronousMachineGroupPolicy - ให้ดับเบิลคลิกที่ SynchronousMachineGroupPolicy แก้ไขค่า Value Data เป็น 0 เพื่อเข้า windows โดยไม่ต้องรอ Policy แล้วคลิกปุ่ม OK - คลิกขวาที่ system แล้วเลือกคำสั่ง New>DWORD Vale พิมพ์คำว่า SynchronousUserGroupPolicy - ให้ดับเบิลคลิกที่ SynchronousUserGroupPolicy แก้ไขค่า Value Data เป็น 0 เพื่อเข้า windows โดยไม่ต้องรอ Policy แล้วคลิกปุ่ม OK - จากนั้น restart เครื่องเป็นอันเสร็จ 16.แยกการใช้งานระหว่าง Desktop และ Explorer Process Explorer ทำหน้าที่ให้บริการของ Explorer และให้บริการไฟล์ Desktop และ Taskber Explorer เป็นตัว Multi-Thread ทำหน้าที่แตกตัวออกเป็นตัวลูกย่อยๆ รองรับการร้องขอบริการต่างๆ จากผู้ใช้งาน จะทำให้สามารถรองรับบริการหลายๆตัวได้ในเวลาเดียวกัน แต่หากโปรแกรมอันใ[คำไม่พึงประสงค์]ันหนึ่งมีปัญหาและปิดการทำงานไป จะส่งผลทำให้โปรแกรมที่เหลือถูกปิดตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเราจะต้องแยกการทำงานของทั้งสามส่วนออกจากกัน โดยทำได้ดังนี้ - คลิก Start>Run พิมพ์ regedit คลิก O.K. - เข้าไปที่ HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\Current Version\Explorer\Advanced - คลิกขวาที่ Advanced เลือกคำสั่ง New > DWORD Value - พิมพ์คำว่า DesktopProcess ดับเบิลคลิกที่ DesktopProcess พิมพ์ค่า 1 ลงไป คลิกปุ่ม OK - บู๊ตเครื่องใหม่ก็เรียบร้อย 17.แสดง Windows เวอร์ชั่นของเครื่องบนหน้าจอ Desktop - คลิก Start>Run พิมพ์ regedit คลิก O.K. - เข้าไปที่ HKEY_CURRENT_USER\Control Panal\Desktop - ดับเบิลคลิกทางขวามือที่ PaintDesktopVersion เพื่อแก้ไข Value Data เป็น 1 เพื่อแสดง Windows เวอร์ชั่นบนหน้าจอ Desktop - คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง เท่านี้ก็เสร็จแล้วคับ 18.เพิ่มความเร็ว - คลิก Start>Run พิมพ์ msconfig คลิก O.K. - จะได้เมนู System Configuration Utility เลือกหัวข้อ Startup - ให้เลือกติ๊กถูกถ้าจะให้โชว์ - ให้เลือกติ๊กเอาออกถ้าจะไม่ให้โชว์ ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความ ปล. ช่วยกันโหวตด้วยนะครับ [ WoodyDesign ] ๕๕๕ผิดพลาดประการใดขออภัย...รายงานผลเพื่อปรับปรุงด้วยจะเป็นพระคุณครับ ที่มา :: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=e55d5211156cf8410fb5b2f6b2d0de2c&bookID=1727&pageid=8&read=true&count=true

ค้นหาบล็อกนี้